อ่านมาเล่า ตอน หกวิธีการจัดการกับดิจิทัลดิสรัปชั่น
ในโลกดิจิทัลสิ่งที่แน่นอนที่สุดคือทุกสิ่งเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกระแสคลื่นของ ดิจิทัลดิสรัปชั่น พุ่งเข้ามาหาเราเหมือนอย่างคลื่นสึนามิซัดสาดเข้าฝั่ง ยิ่งในยุค covid-19 นี้กระแสการเปลี่ยนแปลงเป็นดิจิทัลเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้คนไทยหายขี้เกียจและหันมาทำตัวเป็นประชาชนดิจิทัลกันด้วย ความจำเป็นบังคับ เดี๋ยวนี้ร้านอาหารอร่อยๆก็ซื้อมากินได้ไม่ต่างจากร้านข้าวแกงข้างบ้านเพราะว่ายังไงก็ต้องสั่งออนไลน์อยู่ดีอันที่จริงนั้นข้าวแกงข้างบ้านอาจจะสั่งออนไลน์ไม่ได้ด้วยซ้ำไปในขณะที่ภัตตาคารอย่างอร่อยเลิศสามารถสั่งได้ สิ่งแรกที่ทุกองค์กรเผชิญคือเมื่อกระแส ดิจิทัลดิสรัปชั่น เข้ามาแล้วจะทำยังไงดีพอดีไปอ่านบทความหนึ่งซึ่งเขาพูดถึงโมเดล the Gartner A6 model ดูแล้วเข้าท่าดีก็เลยเก็บมาเล่าให้ฟังครับใครรู้แล้ว ก็สามารถอ่านข้ามๆ ไปตอนนี้ได้ ทาง Gartner เขาเสนอแนวคิดในการจัดการไว้ 6 วิธีด้วยกันซึ่งจะตอบสนองกับดิจิทัลดิสรัปชั่น ดังนี้ครับ
Analyze
คือ แอบชำเลืองดูเพื่อนบ้านที่ทำงานแบบเดียวกันว่าเขาจัดการอย่างไรบ้างในขณะที่เราก็เตรียมความพร้อมอยู่ภายในวิธีนี้ บางทีก็ทำให้เราได้แต่ความคิดดีๆมันเยอะแต่ความเสี่ยงก็คือว่าถ้ามัวแต่อันตรายนานเกินไปอาจจะสูญเสียโอกาสในการแข่งขันก็ได้แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีอยู่ในการจัดการกับดิจิทัลดิสรัปชั่น ตัวอย่างก็คือ ธนาคารประมาท PayPal ไปหน่อยตอนที่ PayPal เข้ามาทำธุรกิจนี้จนตอนนี้ PayPal มีผู้ใช้กว่า 300 ล้านคนแล้วแบงค์ก็เพิ่งกลับตัวมาสร้างธุรกิจในลักษณะใกล้เคียงกัน
Attack
จู่โจมไปเลยอันนี้ใช้กับบริษัทที่เป็นขุนศึกหน่อยคือศึกษาว่าเทคโนโลยีหรือวิธีการอะไรที่เกิดการเปลี่ยนแปลงแล้ว จากนั้นก็ใช้สรรพกำลังของเราสร้างผลิตภัณฑ์ในแบบเดียวกันลงไปต่อสู้ในตลาดนั้นเลยหรือบางครั้งก็ใช้กันโจมตีทางกฎหมายเพื่อชะลอการเข้ามาของเทคโนโลยีหรือกิจกรรมบางอย่างซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้กันบ่อยโดยใช้การฟ้องร้องเรื่องลิขสิทธิ์เป็นต้น
Alternative
วิธีการนี้ก็อาศัยการศึกษาว่าคู่แข่งที่กำลังทำให้เกิดดิจิทัลดิสรัปชั่นนั้นเขาทำธุรกิจในลักษณะไหนจากนั้นก็หาช่องในการสร้างทางเลือกก็จะทำให้เกิดแนวทางการตอบโต้ได้เช่นกันตัวอย่างเช่นเมื่อ Sony PlayStation, Xbox สร้างผลิตภัณฑ์พี่ตอบสนองความต้องการของผู้เล่นเกมอย่างจริงจัง Nintendo ก็หันไปจับตลาดคนที่เล่นเกมไม่เป็นหรือครอบครัวให้เป็นผู้ใช้กลุ่มใหม่เข้ามาเล่นเกมของตัวเองได้โดยใช้ Nintendo Wii
Ally
วิธีการนี้เป็นวิธีการแบบญาติมิตรสมานฉันท์คือมองดูว่าสิ่งที่เราต้องตอบสนองนั้นเราทำอะไรได้และยังขาดอะไรอยู่บ้างที่จะตอบโต้กับดิจิทัลดิสรัปชั่น จากนั้นก็หาพันธมิตรมาร่วมรบแล้วก็สร้างอีโคซิสเต็มซึ่งมีบริการใหม่ธุรกิจใหม่ร่วมกับพันธมิตรที่ดึงมารวมตัวกันแล้วก็จะช่วยกันฝ่าฟันกระแสของภัยคุกคามจากดิจิทัลดิสรัปชั่นไปได้
Acquire
วิธีการนี้เรียกว่าเป็นวิธีซื้อตัวดาวเตะเหมือนที่ Facebook มองว่า Instagram กำลังคุกคามธุรกิจของตัวเองก็ตัดสินใจทำตัวเป็นเสี่ยซื้อ Instagram มาเลยจะได้ไม่ต้องแข่งกันเอามาช่วยกันทำเงิน ภัยคุกคามก็หายไปเพราะว่าองค์กรสามารถควบคุมเทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นผลจากดิจิทัลดิสรัปชั่นได้เองเลย
Avoid
วิธีสุดท้ายก็คือแกล้งทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นเพราะว่าในขณะที่ดิจิทัลดิสรัปชั่นกำลังเริ่มเป็นกระแสนั้นธุรกิจที่เป็นแนวทางปกติ ก็ยังคงดำเนินอยู่และมีสุขภาพที่แข็งแรงแต่วิธีการนี้เป็นวิธีที่ไม่แนะนำเพราะว่าจะทำให้บริษัทหยุดการสร้างนวัตกรรมและในท้ายที่สุดถ้าเกิดมีตอนนี้ครับท่านนั้นเป็นผลมาจริงๆบริษัทก็จะล้มตายไปเอง คนที่เอาออยได้หลายอย่างเช่น Nokia หรือ Blackberry ที่มาแซวว่าโทรศัพท์ที่ไม่มีคีย์บอร์ดนั้นใช้งานไม่ได้จริงๆหรอกมันจะหัวเราะไม่ออกทีหลังไปไม่รอด วิธีหนึ่งที่คอยแต่ก็อาจจะได้ผลคือเอาตัวรอดไปเลยโดยการนกรู้ขายธุรกิจนั้นและเอาเงินทุนไปทำธุรกิจอื่นหรือปรับโครงสร้างให้ล่าถอยออกไปจากสนามรบโดยที่ไปสร้างธุรกิจอื่นที่แข็งแกร่งขึ้นอย่างเช่นบริษัท Fuji รู้ว่าธุรกิจฟิล์มไม่น่าจะมีอนาคตแล้วแต่เขามองกว้างคือแทนที่จะมองว่าตัวเองทำฟิล์มกับมองว่าธุรกิจฟิล์มนั้นเป็นธุรกิจเคมีภัณฑ์สุดท้ายก็สามารถบิดผันให้ไปสร้างธุรกิจเคมีภัณฑ์ทางด้านเครื่องสำอางและอื่นๆได้ แบบนี้เขาเรียกว่าถอยหนีก็ยังถอยหนีแบบมีชั้นเชิงไม่ได้รอให้ภัย ถึงตัวและหลบหนีแบบค่ายแตกไฟลุกท่วมถูกศัตรูไล่ล่าสังหาร
ลองทำดูแล้วแนวคิดของแต่ละวิธีก็ดูดีทีเดียวแต่ความยากก็คือการนำไปปฏิบัติให้ได้ผลอันนี้ก็เป็นฝีมือของผู้บริหารและผู้นำของแต่ละองค์กรนะครับแต่อย่างน้อยก็มีความคิดที่จะบริหารจัดการได้ในเบื้องต้นไม่ต้องตกใจมากจนกระทั่งคิดอะไรไม่ออกทำอะไรไม่ถูก ทำให้จัดการช้าเกินไปนะครับ หวังว่าทุกองค์กรคงจะมีไอเดียเพื่อจะนำพาองค์กรฝ่ากระแสดิจิทัลดิสรัปชั่นกันต่อไปครับ สำหรับคนที่อยากอ่านรายละเอียดในต้นฉบับขอให้ลิ้งไว้ที่นี่นะครับ บทความต้นฉบับ